ไวรัสเดงกี่

โรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะนี้เริ่มพบได้มากขึ้นทั่วโลก

ไข้เด็งกี่ คือ โรคติดเชื้อที่อาจมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต อาการคล้ายหวัด หรือไม่แสดงอาการเลย โดยช่วงทศวรรษที่ผ่านมาพบรายงานผู้ติดเชื้อเด็งกี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

เชื้อเด็งกี่สามารถแบ่งได้เป็นชนิดย่อย 4 ชนิด เราสามารถติดเชื้อแต่ละชนิดได้เพียงครั้งเดียว แต่ภูมิที่สร้างขึ้นไม่สมบูรณ์ทำให้คุณยังสามารถติดเชื้อกลุ่มอื่นได้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้เลือดออกขั้นรุนแรงจะเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้งที่ติดเชื้อ ไข้เลือดออกมีพาหะเป็นยุงชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อซิก้าไวรัส ทำให้เกิดไข้เหลืองได้อีกด้วย

ไข้เด็งกี่เกิดจากอะไร ?

ไวรัสที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกมียุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะพันธุ์ Aedes aegypti และบางครั้งก็จะเป็น Aedes albopictus

ยุงสายพันธุ์ Aedes มักพบได้ทั้งในเมืองและแถวนอกเมือง และขยายพันธุ์ตามภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ยางรถยนต์ กระถางดอกไม้ และน้ำภายในบ้าน

ยุงพวกนี้สามารถมีชีวิตได้ในอุณหภูมิติดลบ ทำให้แพร่พันธุ์ได้ในเมืองหนาว

ความชุกของโรค

ก่อนปี ค.ศ. 1970 มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่พบการระบาดของเด็งกี่ที่รุนแรง ปัจจุบันโรคนี้มีการแพร่กระจายไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ประชากรโลกประมาณครึ่งหนึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเด็งกี่ โดยผู้ติดเชื้อเด็งกี่ชนิดรุนแรงประมาณ 500,000 คน จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลทุกปี อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้คือประมาณ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกาะฮาวายก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อเด็งกี่ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2015 ถึงเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2016 รวมทั้งสิ้น 264 เคสที่มีรายงานไว้

อาการแสดงของไข้เด็งกี่

ไข้เด็งกี่มักแสดงอาการระหว่าง 3-14 วันหลังถูกยุงมีเชื้อกัด

อาการที่มักเกิดขึ้น ได้แก่

  • ไข้
  • ปวดหัวและเจ็บบริเวณกระบอกตา
  • เจ็บกล้ามเนื้อและข้ออย่างมาก (กลายเป็นที่มาของชื่อ โรคไข้ปวดกระดูก)
  • เหนื่อยมาก
  • ผื่นขึ้น 2-5 วันหลังเป็นไข้
  • อาจมีเลือดออกจากผิวหนังหรือทางจมูก
  • อุจจาระสีเลือด หรือมีเลือดประจำเดือนมากเป็นพิเศษ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ และจมูกตัน

อาการเหล่านี้มักคงอยู่ประมาณ 3-7 วันหลังไข้ขึ้น มักจะมีอาการดีขึ้นหรือไม่ก็แย่ลงสุด ๆ ทำให้เป็นโรคติดเชื้อเด็งกี่ชนิดรุนแรง

แนวทางการรับมือโดยองค์กรอนามัยโลกกล่าวว่าอาการใด ๆ ต่อไปนี้ ล้วนเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อเด็งกี่ชนิดรุนแรง เรียกว่า ไข้เลือดออก

  • ปวดท้องหรือกดเจ็บที่ท้อง
  • อาเจียนต่อเนื่อง
  • เฉื่อยช้าหรือกระสับกระส่าย
  • เลือดออกตามเหงือกหรือมีเลือดกำเดา
  • ตับโต
  • มีของเหลวสะสมในปอดหรือในท้อง (สังเกตได้จากฟิล์มเอ็กซเรย์หรือทำอัลตราซาวนด์)

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นการติดเชื้อเด็งกี่แบบรุนแรงที่สุด โดยจะมีลักษณะสำคัญทางคลินิก 4 แบบ ได้แก่

  • มีการซึมผ่านของผนังหลอดเลือดมากขึ้น ทำให้มีพลาสมารั่วไปตามเนื้อเยื่อรอบ ๆ และเลือดข้นขึ้นจากการขาดพลาสมาในหลอดเลือด
  • มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  • มีไข้นาน 2-7 วัน
  • กดเจ็บบริเวณที่มีเลือดออก

อาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิตของไข้เลือดออกไม่ใช่การเสียเลือดจากเลือดออก แต่เป็นการการเสียของเหลวภายในหลอดเลือดไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ต่างหาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ไม่เพียงแต่ของเหลวจะไปสะสมในบริเวณที่ไม่ควรอยู่ แต่ของเหลวในหลอดเลือดจะไม่มีเหลือเพียงพอให้เลือดไหลเวียนได้ดี เนื่องจากภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถในการไหลเวียนเลือดที่ดี เรียกว่า ภาวะช็อก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต อาจทำให้เกิดปัญหากับปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย และภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลว การรักษาภาวะช็อกจำเป็นต้องได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉินเพื่อเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดและเพื่อให้ยาที่เพิ่มความดันเลือดให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ

ผู้ติดเชื้อเด็งกี่ที่มีภาวะช็อกร่วมด้วยจะเรียกว่า เด็งกี่ช็อกซินโดรม (Dengue Shock Syndrome: DSS)

การรักษาไข้เด็งกี่

เช่นเดียวกับการรักษาโรคจากไวรัสทั่วไป ทางเลือกในการรักษาเด็งกี่คือการรักษาตามอาการ อาจให้ยาแก้ปวดที่ไม่ทำให้เลือดไหลมากขึ้น เช่น ไทลินอล (Acetamenophen)

การให้สารน้ำทางหลอดเลือดอาจให้เพื่อป้องกันภาวะช็อก แต่ต้องตรวจสอบเลือดให้แน่ใจก่อนว่าการให้สารน้ำจะไม่ทำให้ผู้ป่วยอาการแย่ลง

วัคซีนสำหรับไข้เด็งกี่

Dengvaxia เป็นวัคซีนตัวแรกสำหรับไข้เด็งกี่ที่ผลิตขึ้นใช้ในประเทศเม็กซิโกในปี ค.ศ. 2015 วัคซีนชนิดนี้ครอบคลุมเชื้อเด็งกี่ทั้ง 4 ชนิด และจะให้ในคนอายุ 9-45 ปี ชุดละ 3 โดส วัคซีน Dengvaxia สามารถป้องกันการเกิดไข้เด็งกี่ได้ประมาณ 49 เปอร์เซ็นต์ แต่วัคซีนตัวนี้ยังไม่มีใช้ในสหรัฐอเมริกา

                                                                                                Cr.www.honestdocs.co

Visitors: 216,289