อีโบลา

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก

(EBOLA-MARBURG VIRAL DISEASES)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีอัตราป่วยตายสูง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebolavirus)
และเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก (Marburgvirus)

2. ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดแห่ง
หนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการ
ชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547สถานการณ์โรคในประเทศไทย : โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก เป็น
กลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่งอัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยัง
ไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็น
ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เชื้ออาจมาจากพื้นที่ระบาดของโรคเข้ามาในประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็น
พิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม

3. อาการของโรค : ไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน
ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมัก
เกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่

4. ระยะฟักตัวของโรค : ประมาณ 2 - 21 วัน

5. การวินิจฉัยโรค : อาจใช้วิธี RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจาก
อวัยวะ การวินิจฉัยมักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM
หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgM แสดงให้เห็นว่าเพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้) การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ
หรือการเลี้ยงในหนูตะเภาต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4) การตรวจด้วยวิธี ELISA
จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgGในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย บางครั้งอาจตรวจ
พบเชื้อได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ การชันสูตรศพโดย
การตรวจชื้นเนื้อ (Formalin-fi xed skin biopsy)หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือองค์ประกอบทางเคมี
ของเซลล์และเนื้อเยื่อสามารถทำได้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี IFA เพื่อหาแอนติบอดี มักทำให้แปลผลผิดพลาด โดยเฉพาะ
ในการตรวจน้ำเหลืองเพื่อดูการติดเชื้อในอดีต เนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมากดังนั้นการตรวจและศึกษาทาง
ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ กระทำได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแกผู่ป้ ฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนใน
ระดับสูงสุด (BSLระดับ 4)

6. การรักษา : ไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ

7. การแพร่ติดต่อโรค : การติดเชื้อไวรัสอีโบลาของคน เกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังนี้

1. ในทวีปแอฟริกา เกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตายในป่าที่มีฝนตกชุก
2. สำหรับไวรัสอีโบลา สายพันธุ์เรสตัน จะพบการติดต่อสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของ
ลิง cynomolgus ที่ติดเชื้อ และยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศการติดต่อจากคนสู่คน
เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้
บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ

8. มาตรการป้องกันโรค : ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับทั้งไวรัสอีโบลาหรือมาร์บูร์กควร
ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ

9. มาตรการควบคุมการระบาด : แยกผู้ป่วยสงสัยจากผู้ป่วยอื่นๆ และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด ใช้มาตรการป้องกัน
การติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงดำเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง:
1. Heymann DL., Editor, Control of Communicable Diseases Manual 19th Edition, American Association of
Public Health, 2008.
2. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas, and Bennett’s, editor. Principles and Practice of
Infectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia (USA): Elsevier; 2010 : p.2260.

ข้อมูลจาก สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
Visitors: 218,960