โรคมือเท้าปาก  Hand Foot and Mouth

โรคติดเชื้อ

  โรคมือเท้าปากและโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71
 
  
โรค มือ-เท้า-ปาก


  
โรค มือ-เท้า-ปาก


  
โรค มือ-เท้า-ปาก


  
โรค มือ-เท้า-ปาก


  
โรค มือ-เท้า-ปาก

โรค มือ-เท้า-ปาก และ โรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ (Prof. KULKANYA CHOKEPHAIBULKIT)
 

โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71

 

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospita

คณะแพทยศาตร์ศิริราชพยาบาล

 เอนเทอโรไวรัส (อังกฤษEnterovirus) เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนมิเตอร์ เป็น ไวรัสเปลือย ( non-enveloped virus หรือ naked virus ) ทำให้ทนทานต่อสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ และ อีเทอร์ เชื้อไวรัส กลุ่มนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ โดยแสดงอาการของโรคต่างกัน ไวรัสชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆของร่างกาย ที่สำคัญ คือ การปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย ( fecal-oral transmission ) ซึ่งถือได้ว่า เป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส ทั้งหมด ( คำว่า เอนเทอโร หมายถึง ทางเดินอาหาร , ติดต่อโดย ระบบทางเดินอาหารนั่นเอง ) ถึงแม้ ไวรัสกลุ่มนี้จะเจริญได้ดีในทางเดินอาหาร แต่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร แล้วแต่ละ โรคอาจจะมีได้ตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ โรคหายได้เองจนถึงความรุนแรงโรคสูงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้[1]

โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่ง ที่พบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคนี้สูง เพราะฉะนั้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ

 

โรค มือ-เท้า-ปาก

เป็น โรคที่พบบ่อยในเด็ก ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักระบาดในช่วงหน้าฝน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายตัวที่ทำให้เกิดได้ โดยเชื้อที่รุนแรงที่สุด คือ เอนเตอโรไวรัส 71 หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี71 ที่มีการระบาดรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้านของเราก็เป็นเชื้ออีวี 71 นี่เอง ประเทศไทยเราก็พบเชื้ออีวี71 ร่วมกับเอนเตอโรไวรัสตัวอื่นๆด้วย  แต่ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ค่อยรุนแรง

 

อาการของโรคมือ-เท้า-ปาก

เด็ก ที่เป็นโรคมือ-เท้า-ปาก มักเริ่มด้วยอาการไข้ เจ็บปาก กินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากเหมือนแผลร้อนใน และมีผื่นเป็นจุดแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขาได้ ผู้ป่วยมักมีอาการมากอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก แต่บางรายมีอาการมากจนกินอาหารและน้ำไม่ได้

            โดย ปกติโรคนี้ไม่น่ากลัว และหายเองโดยไม่มีปัญหา แต่อาจมีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือพบปัญหาแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะถ้าเกิดจากเชื้ออีวี 71 จะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มากขึ้น

            ปัญหา แทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดคือ ก้านสมองอักเสบ ทำให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และบางครั้งเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เกิดสมองอักเสบรุนแรงได้ โดยไม่ต้องมีผื่นแบบ มือ-เท้า-ปากได้ เด็กที่จะมีปัญหาแทรกซ้อนรุนแรงหรือสมองอักเสบ จะมีสัญญาณอันตรายได้แก่ ซึม อ่อนแรง ชักกระตุก มือสั่น เดินเซ หอบ อาเจียน ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน การระบาดของโรคมือ-เท้า-ปาก ในประเทศไทยในขณะนี้แม้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ดีต้องระวังอาการรุนแรงไว้ด้วย แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยก็ตาม

 

การรักษาโรคมือ-เท้า-ปาก

            โรคนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยวิกฤต

การติดต่อของโรค มือ-เท้า-ปาก

            โรค นี้ติดต่อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น สัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคนี้จึงมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก

 

วิธีป้องกันโรค มือ-เท้า-ปาก

            ยัง ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคมิให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น เด็กทุกคนรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาชะล้างทำความสะอาดทั่วไป แล้วทำให้แห้ง ควรระมัดระวังในความสะอาดของน้ำ อาหาร และสิ่งของทุกๆ อย่างที่เด็กอาจเอาเข้าปาก ไม่ให้เด็กใช้ของเล่นที่อาจปนเปื้อนน้ำลาย หรืออุปกรณ์การรับประทานร่วมกัน ควรสอนให้เด็กๆ ใช้ช้อนกลาง และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

โรงเรียน ไม่ควรรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดี ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ไม่ควรพาไปโรงเรียน หากพบว่าเป็นโรคนี้ควรให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ และ เมื่อหายป่วยแล้ว เด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีเชื้ออยู่ในอุจจาระได้ นานหลายสัปดาห์ ดังนั้นเมื่อเด็กหายป่วยแล้ว ยังต้องมีการระวังการปนเปื้อนของอุจจาระต่ออีกนาน ควรเน้นการล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนรับประทานอาหารแก่เด็กและผู้ใหญ่ทุกคน ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เพราะแอลกอฮอลล์เจลจะฆ่าเชื้อเอนเตอโรไวรัสไม่ได้

            ใน ช่วงที่มีการระบาด ไม่ควรนำเด็กไปในที่ที่มีเด็กอื่นอยู่รวมกันจำนวนมาก เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้เนื่องจากมีเด็กที่เป็นโรคนี้และแพร่เชื้อได้โดย ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก ที่อาจไปอยู่รวมกัน

 

การป้องกันการระบาดในสถานรับดูแลเด็กหรือโรงเรียนชั้นอนุบาล

            1. มีการตรวจคัดกรองเด็กป่วย ได้แก่ เด็กที่มีไข้ หรือเด็กที่มีผื่น หรือมีแผลในปาก ไม่ให้เข้าเรียน ทั้งนี้เพราะมีผู้ป่วยบางคนที่มีอาการน้อยมาก หรือมีบางคนที่มีอาการไข้แต่ไม่มีผื่น ควรต้องจัดหาเครื่องมือวัดอุณหภูมิ (ปรอท) ไว้ให้พร้อมเพื่อใช้ในกรณีที่สงสัยว่าเด็กจะมีไข้ และมีครูหรือพยาบาลตรวจรับเด็กก่อนเข้าเรียนทุกวัน

            2. ควรมีมาตรการในการทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมทุกวัน หรือเมื่อมีการเปื้อนน้ำลาย น้ำมูกหรือสิ่งสกปรก

            3. มีมาตรการเคร่งครัดในการล้างมือ ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ดูแลสัมผัสเด็กเล็ก โดยเฉพาะในทุกครั้งที่อาจสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ การใช้แอลกอฮอลล์เจลล้างมือ ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้

            4. หากมีการระบาดเกิดขึ้นหลายราย ควรพิจารณาปิดชั้นเรียนนั้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือหากมีการระบาดเกิดขึ้นในหลายชั้นเรียน ควรปิดโรงเรียนด้วย เพื่อหยุดการระบาด

Visitors: 218,979